อุตสาหกรรมโรงงานสีเขียวเรื่องดังกล่าวไม่ใช่เรื่องใหม่แต่เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เรื่องการผลิตและการบริโภคให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในไทยนั้นกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นผู้ออกนโยบายโดยให้นิยามคำว่า อุตสาหกรรมโรงงานสีเขียว หมายถึง การพัฒนาอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมรวมถึงออกหลักเกณฑ์ในการรับรองอุตสาหกรรมโรงงานสีเขียว แบ่งออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่
ระดับที่ 1 ความมุ่งมั่นสีเขียว คือ มีการสื่อสารในองค์กรที่จะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ระดับที่ 2 ปฏิบัติการสีเขียว คือ การดำเนินกิจกรรมเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ระดับที่ 3 ระบบสีเขียว คือ การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ มีการติดตามและประเมินผลเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ระดับที่ 4 วัฒนธรรมสีเขียว คือ ทุกคนในองค์กรให้ความร่วมมือดำเนินงานในทุกด้านของการประกอบกิจการจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร
ระดับที่ 5 เครือข่ายสีเขียว คือ การแสดงถึงการขยายเครือข่ายตลอดห่วงโซ่อุปทานสีเขียว โดยสนับสนุนให้คู่ค้าและพันธมิตรเข้าสู่เครือข่ายอุตสาหกรรมสีเขียวด้วย
ในระดับ 1และ2 ผู้ประกอบการโรงงานสามารถยื่นเอกสารได้ด้วยตนเอง ส่วนระดับ 3,4 และ5 จะต้องผ่านการตรวจสอบตามเงื่อนไขของกระทรวงอุตสาหกรรมโดยหลังจากการได้รับการรับรอง ใบรับรองจะมีอายุดังนี้
-ใบรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 1 มีอายุ 1 ปี
-ใบรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 2 มีอายุ 2 ปี
-ใบรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 3, 4 และ 5 มีอายุ 3 ปี
เราจะได้อะไรจากการได้ใบรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว ?
ประโยชน์ที่จะได้รับของการลงมือทำทันทีนั้นก็คือ การประหยัดพลังงาน ลดการใช้ ทรัพยากร และลดการปลดปล่อยมลพิษ ซึ่งจะทําให้ค่าใช้จ่ายของโรงงานลดลง ส่วนในเรื่องของภาคธุรกิจสามารถใช้ตราสัญลักษณ์อุตสาหกรรมสีเขียวเพื่อการ ประชาสัมพันธ์เชิงการค้า ทําให้สินค้าเป็นที่ยอมรับมากขึ้น เป็นต้น
*ข้อมูลปี 2557 ผู้ประกอบการที่สามารถได้รับการรับรองมีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ปัจจุบันผู้คนหันมาให้ความสนใจในเรื่องของการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ และการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ผลิตภัณฑ์ ในท้องตลาดที่มีเครื่องหมายที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจึงได้รับ การตอบรับเป็นอย่างดี ดังนั้นภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมควรมีการปรับตัว ให้สามารถดําเนินกิจการควบคู่กับการอนุรักษ์ธรรมชาติเพื่อเป็นการ ส่งเสริมอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน
Comments